YoVDO

ศาสตร์เพื่อป้องกันอัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) (The Sciences for Suicide Prevention)

Offered By: Chiang Mai University via ThaiMOOC

Tags

Psychology Courses Sociology Courses Public Health Courses Mental Health Courses Social Work Courses Suicide Prevention Courses

Course Description

Overview

คำอธิบายรายวิชา

การฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาอย่างมากของสังคมไทยและสังคมโลก ณ ปัจจุบัน โดยประมาณแล้วพบว่าทุกๆ 30 - 40 วินาที จะมีคนในโลกนี้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน หรือทุกๆ 1 ชั่วโมง ฆ่าตัวตายสำเร็จ ประมาณ 90 – 120 คน หรือวันละประมาณ 2,160 – 2,880 คน ฉะนั้นทุก ๆ ปีจะมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 788,400 – 1,051,200 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนการเสียชีวิตของประชากรโลกที่สูงมาก โดยสถานการณ์เป็นแบบนี้มานานหลายปีแล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับประเทศไทยมีคนตายจากการฆ่าตัวตายประมาณวันละ 12 คน หรือประมาณปีละมากกว่า 4,000 คน เฉลี่ย 6.35 ต่อแสนประชากรโดยในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงเราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน และ แพร่ มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดของประเทศ คือ 10.88 – 14.20 ต่อแสนประชากร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลักคือกรมสุขภาพจิต ได้มีกลยุทธ์และมาตรการในการป้องกันปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ได้ผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าในปี 2564 จะลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จเหลือไม่เกิน 6.0 ต่อแสนประชากร ปัญหาดังกล่าวมีเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลากหลาย ทุกภาคส่วนจึงต้องช่วยกัน โดยเฉพาะการให้ความรู้ความเข้าใจในปัญหา เหตุของปัญหา และที่สำคัญคือการป้องกันปัญหาให้เกิดน้อยลง เพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีค่าอนันต์ และลดผลกระทบต่างๆ อีกมากมายที่ตามมาเมื่อมีพฤติกรรมการพยายามฆ่าตัวตายแล้วไม่สำเร็จแต่บาดเจ็บหรือพิการและการฆ่าตัวจนสำเร็จ ได้แก่ผลกระทบต่อผู้กระทำ ครอบครัวคนรอบข้าง รวมทั้งผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ฉะนั้นหากประชาชนทั่วไปและผู้เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น บุคลากรทางสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สนใจในปัญหาดังกล่าว ได้เรียนรู้เรื่องศาสตร์เพื่อป้องกันอัตวินิบาตกรรมหรือการฆ่าตัวตาย โดยรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาการฆ่าตัวตาย แนวโน้มของปัญหาในอนาคต ผลกระทบจากปัญหา และแนวทางหรือวิธีการป้องกันปัญหา ตลอดจนการช่วยเหลือผู้มีปัญหาแล้ว น่าจะ เกิดประโยชน์และมีความสำคัญมากในการช่วยให้ปัญหาดังกล่าวได้รับความสนใจ ผู้เรียนจะมีความรู้ความเข้าใจ มีความตระหนักในปัญหา แล้วหันมาร่วมมือกันในการป้องกันปัญหาดังกล่าวได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สถานการณ์ปัญหาการฆ่าตัวตาย ความหมายของการฆ่าตัวตาย เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย ผลกระทบจากการฆ่าตัวตาย การประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย การป้องกันปัญหาและช่วยเหลือผู้มีปัญหาการฆ่าตัวตาย


Tags

Related Courses

Accountable Talk®: Conversation that Works
University of Pittsburgh via Coursera
Getting Care Right for All Children: Implementing the UN Guidelines for the Alternative Care of Children
University of Strathclyde via FutureLearn
MSc Child and Adolescent Mental Wellbeing
Anglia Ruskin University via FutureLearn
MSc Mental Health
Anglia Ruskin University via FutureLearn
AP® Psychology - Course 4: How Behavior Works
The University of British Columbia via edX