YoVDO

การอนุรักษ์ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของพรรณพืชป่าพื้นเมืองของไทย | The conservation and sustainable use of native Thai plants

Offered By: Mahidol University via ThaiMOOC

Tags

Sustainability Courses Biodiversity Courses Conservation Courses

Course Description

Overview

รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น "การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย" ไม่มีทีมผู้สอนดูแลจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ชื่อรายวิชา ภาษาไทย:การอนุรักษ์ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของพรรณพืชป่าพื้นเมืองของไทย ภาษาอังกฤษ:The conservation and sustainable use of native Thai plants รายละเอียดรายวิชา การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพมีเป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษยชาติและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอยู่เคียงคู่กับสังคมไทยมาช้านาน แต่การคำนึงถึงเรื่องการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนยังมีการกตระหนักถึงน้อยมาก เพราะการสื่อความหมายด้านการอนุรักษ์ยังไม่ชัดเจนให้กับคนทุกระดับ คนที่มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยยังคงใช้ทรัพยากรป่าไม้ พรรณพืชป่าในการดำรงชีพ ซึ่งแตกต่างไปจากสังคมเมือง ดังนั้นหากไม่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะพรรณพืชพื้นเมืองที่นำมาใช้ประโยชน์อาจหมดหรือสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและจากโลกนี้ลรุ่นใหม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณพืชป่า. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. เมื่อเรียนจบผู้เรียนจะเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์พรรณพืชป่าที่สำคัญของประเทศไทย และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนที่เคียงคู่วิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต 2. ผู้เรียนได้ทำความรู้จักพรรณพืชป่าที่สำคัญของประเทศไทยและนำไปสู่การอนุรักษ์ในชุมชน เกณฑ์การวัดผล เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 50% คุณสมบัติผู้เรียน นักเรียน นักศึกษาที่และบุคคลที่สนใจ ประชาชนทั่วไป ทีมผู้สอน ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย / Dr. Thamarat Phutthai อาจารย์ผู้สอน/Biography of instructor E-mail: [email protected] นายวันวิวัฒน์ นามศร / Mr. Wanveewat Namsorn ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด 5 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 1 ชั่วโมง 45 นาที) จำนวนชั่วโมง ที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/หรือต่อครั้ง 1.15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เรียนทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ประเภทของการเรียนในรายวิชา เรียนด้วยตนเอง แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ เพิ่มเติม - ก่องกานดา ชยามฤต. (2545). คู่มือจำแนกพรรณไม้. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สานักวิชาการป่า ไม้หอพรรณไม้ กรมป่าไม้. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน. - ขวัญชัย ไวธัญญาการ. (2549). สถานภาพสัตว์ป่าและแนวทางการฟื้นฟู : แนวเชื่อมต่อป่า เทือกเขาตะนาวศรี. สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า(WCS) ประเทศไทย. - ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฏอินทร์ 2552. นิเวศวิทยาป่าไม้. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงพิมพ์อักษรสยามการพิมพ์ 540 หน้า. - ทิพวัลย์ สุกุมลนันทน์. (2548). พันธุ์บุกในประเทศไทย. เชียงใหม่: นันทกานต์ กราฟฟิค การพิมพ์ - ธวัชชัย สันติสุข. (2548). พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย : เกณฑ์วิเคราะห์ สถานภาพ และแนวทางการอนุรักษ์. รายงานการประชุมความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านป่าไม้ และสัตว์ป่า “ความก้าวหน้าของผลงานวิจัย และกิจกรรมปี 2548” ณ โรงแรมรี เจ้นท์ ชะอา เพชรบุรี วันที่ 21- 24 สิงหาคม 2548. - ธวัชชัย สันติสุข. (2549). ป่าของประเทศไทย. สานักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ ป่าและพันธุ์พืช. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน. 120 หน้า. - ราชันย์ ภู่มา. (2551). พืชหายากของประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้, สานักวิจัยการ อนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด. - วรดลต์ แจ่มจำรูญ, นันทนภัส ภัทรหิรัญไตรสิน, นันทวรรณ สุปันติ, นันยนา เทศนา, สุคนทิพย์ ศิริมงคล, โสมนัสนา แสงฤทธิ์. (2554). พื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์พืช ในประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้, สานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. กรุงเทพมหานคร: โอเมก้า พริ้นติ้ง. นโยบายการวัดประเมินผล การผ่าน/ไม่ผ่าน โดยผู้เรียนจะต้องมีคะแนนการเรียน มากกว่า 50 คะแนน ขึ้นไป จึงจะผ่านและได้รับใบประกาศนียบัตร “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Tags

Related Courses

Cultural Heritage in Transformation
RWTH Aachen University via edX
Biodiversity and Global Change: Science & Action
University of Zurich via Coursera
Sharks!
Cornell University via edX
Chimpanzee Behavior and Conservation
Duke University via Coursera
Ecology: from cells to Gaia
Tomsk State University via Coursera