YoVDO

การผลิตรายการโทรทัศน์ | Television Program Production

Offered By: King Mongkut's University of Technology Thonburi via ThaiMOOC

Tags

Digital Media Courses Scriptwriting Courses

Course Description

Overview

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) เกี่ยวกับรายวิชา การศึกษาความรู้พื้นฐานเก่ียวกับการผลิตรายการโทรทัศน์ ประเภทและรูปแบบของรายการโทรทัศน์ ปัจจัยพื้นฐานของการผลิตรายการโทรทัศน์ กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ แนวทางการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ สาหรับผู้รับชมกลุ่มต่าง ๆ การเขียนบทโทรทัศน์ การจัดแสงและสีสาหรับการผลิตรายการโทรทัศน์ ความสำคัญของภาพและเสียงในงานผลิตรายการโทรทัศน์ การผลิตรายการโทรทัศน์ในและนอกสถานที่ รูปแบบการเผยแพร่ของรายการโทรทัศน์ จริยธรรม การกำกับดูแลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับกิจการโทรทัศน์ การประเมินคุณภาพของรายการโทรทัศน์ และแนวโน้มของการผลิตรายการโทรทัศน์ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 16 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 5 ชั่วโมง 36 นาที) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ LO1: ผู้เรียนเข้าใจและสามารถอธิบายหลักการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ได้ LO2: ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อวางแผน/ออกแบบในการรายการโทรทัศน์ได้อย่างเหมาะสม LO3: ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และแนวทางการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ สำหรับผู้รับชมกลุ่มต่าง ๆในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจและถูกต้อง LO4: ผู้เรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับรูปแบบการเผยแพร่ของรายการโทรทัศน์ได้ LO5: ผู้เรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพของรายการโทรทัศน์และแนวโน้มของการผลิตรายการโทรทัศน์ได้ คุณสมบัติของผู้เรียน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอาชีวศึกษา นิสิตและนักศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้ที่สนใจและประชาชนทั่วไป เกณฑ์การวัดผลของรายวิชา การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) วัดจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำโมดูลการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 60 การประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Assessment) วัดจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 40 การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตร (Certificate) เมื่อผู้เรียนได้คะแนนรวมทั้งหมด ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยระบบจะแสดงใบประกาศนียบัตรให้อัตโนมัติในแถบเมนู Progress ซึ่งผู้เรียนสามารถ Save หรือสั่งพิมพ์ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงควรเข้าเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกโมดูลการเรียนรู้ อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล บุญลือ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้ช่วยสอน นายวิษณุ นิตยธรรมกุล นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นายภรัณยู อรสุทธิกุล นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นางสาวเมธาวี อำนวยวุฒิโรจน์ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คำแนะนำสำหรับผู้เรียน ผู้เรียนควรมีอุปกรณ์ต่าง ๆ (Devices) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ที่มีความละเอียดของหน้าจอ (Resolution) ไม่ต่ำกว่า 1024 x 768 Pixel โดยอุปกรณ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet) ที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 512 Kbps โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ทุกระบบปฏิบัติการ (Operating System) ผ่านเว็บเบราเซอร์ (Web Browser)

Tags

Related Courses

Computer Science 101
Stanford University via Coursera
Digital Media One
Canvas Network
Interactive Multimedia Production
Canvas Network
Survey of Music Technology
Georgia Institute of Technology via Coursera
Fundamentals of Audio and Music Engineering: Part 1 Musical Sound & Electronics
University of Rochester via Coursera