YoVDO

การเรียนรู้ออนไลน์ด้านเอชไอวี/เอดส์ สำหรับเจ้าหน้าที่ภาคสนามและแกนนำ เพื่อเข้าถึงกลุ่ม MSM/TG

Offered By: ThaiMOOC

Tags

Disease & Disorders Courses Public Health Courses Online Learning Courses Information Dissemination Courses

Course Description

Overview

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) คำอธิบายรายวิชา เนื้อหาการสอนมีการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเฉพาะเรื่องนั้นๆ จากภาครัฐและภาคประชาสังคม ในรายวิชาประกอบด้วยทฤษฎีและสื่อการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งเน้นกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง นอกจากจะได้ความรู้ผู้เรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ ที่รับรองโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นการรับรองคุณภาพรายบุคคลที่ผ่านเกณฑ์ทดสอบความรู้พื้นฐานด้านเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงาน เผยแพร่ความรู้เพื่อการป้องกันการติดเชื้อ การส่งต่อเพื่อเข้ารับบริการในโรงพยาบาลหรือคลินิก รวมถึงช่วยเหลือติดตามให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อและถ่ายทอดเชื้อ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ภาคสนามหรือแกนนำในการเรียนรู้เรื่องเอชไอวี/เอดส์ 2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจบริบทของกลุ่มเป้าหมายชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อและถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี 3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เรื่องโรคที่ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์และโรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี 4. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แนวทางการทำงานและการพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายชายมีเพศสัมพันธ์กับชายหรือสาวประเภทสองให้มีการป้องกันการติดเชื้อและถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี 5. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้นเรื่องการตรวจเอชไอวี การเปืดเผยสถานะการติดเชื้อต่อคู่ รวมถึงการกินยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ และโภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ ชั่วโมงการเรียนรู้ทั้งหมด 45 ชั่วโมง ชั่วโมงการเรียนรู้ต่อสัปดาห์ 9 ชั่วโมง ระดับความยากของรายวิชา เนื้อหาของหลักสูตรนี้เป็นขั้นพื้นฐาน ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทย คุณสมบัติผู้เรียน อาสาสมัครหรือผู้ที่ทำงานด้านเอชไอวี/เอดส์ และประชาชนทั่วไปที่สนใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ เกณฑ์การวัดผล รายวิชานี้มีใบประกาศนียบัตรรรับรองจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินผล ได้คะแนนรวมเกิน 80 % โดยมีรายละเอียดการคิดคะแนนดังนี้ แบบประเมินหลังการเรียนในแต่ละบท 10 บทเรียน คิดเป็น 80 % แบบประเมินจบหลักสูตร จำนวน 20 ข้อ คิดเป็น 20 % คณะผู้จัดทำและทบทวนหลักสูตร รศ.ดร.วัฒนา สุขีไพศาลเจริญ นายกสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ผศ.ดร.ชนิกาปโชติการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล นายกสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย อาจารย์จินตณา จตุรพิทักษ์ นักกำหนดอาหารและวิจัย โครงการท่าจีน แพทย์หญิงเอกจิตรา สุขกุล นักวิชาการอิสระ นักวิชาการจาก มูลนิธิซิสเตอร์ มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ มูลนิธิเอ็มพลัส องค์กรแคร์แมทเชียงใหม่ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย Tangerine Community Health Center ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร หน่วยประสานงานโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (BMA) กรุงเทพมหานคร คลินิก ARV และศูนย์ชาตะผดุง โรงพยาบาลขอนแก่น นภาคลินิก โรงพยาบาลอุดรธานี กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข Division of Global HIV/AIDS and TB (DGHT) ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก แพทย์หญิงมณฑินี วสันติอุปโภคากร ตำแหน่งรองผู้อำนวยการและหัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีการป้องกัน กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน [email protected] เบอร์ 025903215 Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Related Courses

Reflections from 40 Years Fighting International Epidemics
Dartmouth College via Coursera
80043368 - Strategies to Improve Human Papillomavirus (HPV) Vaccination Rates Among College Students
Johns Hopkins University via Independent
A Public Health Approach to Hearing Loss and Aging
Johns Hopkins University via Coursera
Abordaje del riesgo suicida en adolescentes y jóvenes
Universidad de Chile via Coursera
Abortion: Quality Care and Public Health Implications
University of California, San Francisco via Coursera