YoVDO

สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม | Human Right in Justice Procedure

Offered By: Naresuan University via ThaiMOOC

Tags

Human Rights Courses Administrative Law Courses Equality Courses Criminal Law Courses Civil Law Courses

Course Description

Overview

คำอธิบายรายวิชา คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนาในประเทศไทย อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน ระบบกฎหมายไทยมี หลักเกณฑ์คุ้มครองศักดิ์ศรี สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมหลาย ด้าน อาทิเช่น ทางอาญา ทางแพ่ง ทางปกครองและอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวสอดคล้องกับ มาตรฐานสากล บริบทของประเทศ และพลวัตรของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปที่นับวันมีแต่จะขยายความ คุ้มครองให้ครอบคลุมและชัดเจน ทั้งยังมีกลไกของรัฐช่วยสร้างเสริมความตระหนักรู้ หวงแหนและปกป้อง ศักดิ์ศรี สิทธิและเสรีภาพและความเสมอภาคอย่างถูกต้องตามครรลองคลองธรรมในระบบกฎหมายไทยที่ เป็นลายลักษณ์อักษร วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (แบ่งตามประเภทของการเรียนรู้ตาม BLOOM’S TAXONOMY หรือ OUTCOME BASE) 1. มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานสากล 2. มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการคุ้มครองสิทธิผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ ยุติธรรม 3. มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการยุติธรรมด้านต่างๆ ตามกฎหมายไทย 4. มีความรู้ความเข้าในในกระบวนวิธีพิจารณาความเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตาม กฎหมายไทย 5. มีการปรับใช้หลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อาจารย์ผู้สอนในรายวิชา อาจารย์จินตนา พนมชัยชยวัฒน์ (Mrs.JINTANA PHANOMCHAICHAYAWAT) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (Faculty of Law) อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา กฎหมายระหว่างประเทศคดีเมือง (Public International Law) ตราสารเปลี่ยนมือ (Negotiable Instrument) ปัญหาพิเศษกฎหมายระหว่างประเทศ (Special Problem on International Law) กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) E-mail : [email protected] ผู้ช่วยสอนในรายวิชา นางสาวเบญจรัตน์ ภูมิใหญ่ Miss Benjarut Phumyai E-mail : [email protected] นางสาวปลิดา วุฒิทรงสกุล Miss Palida Vuttisongsaku E-mail : [email protected] นางสาวทรภัชชา ผลผดุง Miss Tornpatcha Phonphadung E-mail : [email protected] นายสุทัศชา ราชณรินทร์ Mr.Suthatcha Rajnarin E-mail : [email protected] นโยบายการวัดประเมินผล เกณฑ์การให้คะแนน การผ่าน/ไม่ผ่าน และใบประกาศนียบัตร (หากมี) การวัดประเมินผลการเรียนรู้ เกณฑ์การประเมินผล 1. วัดประเมินผลผ่านแบบทดสอบปรนัยก่อนและหลังเรียนในแต่ละสัปดาห์ 2. เกณฑ์การให้คะแนน มากกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนของแต่ละ สัปดาห์ จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด/จำนวนหน่วยกิต (หากเป็นรายวิชาในหลักสูตรปกติ) 5 ชั่วโมง จำนวนชั่วโมง ที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/หรือต่อครั้ง 1-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ / จำนวน 3 สัปดาห์ ความรู้พื้นฐานที่ต้องมีมาก่อน (หากมี) สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมพื้นฐานทั่วไปและสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ประเภทของการเรียนในรายวิชา (เรียนด้วยตนเอง เรียนแบบกลุ่ม) เรียนด้วยตนเอง ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา ระดับเบื้องต้น กลุ่มเป้าหมาย ของรายวิชา นิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขา / นักเรียน / ประชาชนทั่วไป คำแนะนำในการเรียนรู้ ผู้เรียนควรศึกษาคำแนะนำในการเรียน ก่อนที่จะศึกษาเนื้อหาบทเรียนและปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์ รวมทั้งเข้าเรียนและทำกิจกรรมครบทุกบทเรียนที่จัดขึ้น เช่น การอภิปราย การทำแบบฝึกหัด/ใบงานทุกชุด (แบบฝึกหัดมีส่วนที่คิดคะแนนและไม่คิดคะแนน เพื่อทดสอบความรู้และทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในระหว่างเรียนและเป็นการฝึกพัฒนาผู้เรียนเท่านั้น) Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Tags

Related Courses

Algebra: Elementary to Advanced - Equations & Inequalities
Johns Hopkins University via Coursera
Why We Post: the Anthropology of Social Media
University College London via FutureLearn
Core Managers: Noticing and Challenging Microaggressions
NHS England via FutureLearn
Social and Political Philosophy
DeAnza College via California Community Colleges System
Enfoque diferencial para el logro de la igualdad
Universidad del Rosario via edX