เศรษฐศาสตร์ตลาดการเงิน | Economics of Financial Market
Offered By: Rangsit University via ThaiMOOC
Course Description
Overview
รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) คำแนะนำรายวิชา วิชาเศรษฐศาสตร์ตลาดการเงิน นั้นจะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ บทบาทของเงิน ธนาคาร และสถาบันการเงินอื่น ๆ รวมถึงธนาคารกลาง ต่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ลักษณะและการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ระบบธนาคารพาณิชย์ ตลาดทุน และตราสารหนี้ โครงสร้างและบทบาทของตลาดการเงินต่อระบบการเงิน และระบบเศรษฐกิจ ศึกษากลไกของตลาดการเงิน พัฒนาการ ความลึกของตลาดการเงินที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ วัตถุประสงค์รายวิชา 1)เพื่อให้เข้าใจถึงวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจและของเงิน หลักการและหน้าที่เกี่ยวกับเงิน ตัวแปรทางเศรษฐกิจมีผลต่อตลาดการเงินอย่างไร และตลาดการเงินมีผลต่อระบบเศรษฐกิจ 2)เพื่อศึกษาถึงมาตรฐการเงิน เครดิต และเครื่องมือเครดิต 3)เพื่อเข้าใจถึงเรื่องปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ทฤษฎีเกี่ยวกับค่าของเงิน ภาวะการเงิน รวมทั้งเรื่องการค้า การลงทุนและการเงินระหว่างประเทศ 4)เพื่อศึกษาถึงลักษณะของระบบการเงินระหว่างประเทศ 5)เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของธนาคารกลางในการกำหนดสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งการดำเนินธุรกิจของธนาาคารแห่งประเทศไทย 6)เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ระบบธนาคารพาณิชย์ การบริาหารงานและการปฏิบัติงานของธนาคารพาณิชย์ 7)เพื่อศึกษาถึงความรู้เกี่ยวกับเรื่องตลาดการเงิน ได้แก่ ตลาดเงินและตลาดทุน ตราสารหนี้รวมทั้งสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ วิชานี้จึงเหมาะสมกับ ผู้บริหาร เจ้าของธุรกิจ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักวิเคราะห์ระบบ นักเรียน นักศึกษาทั่วไป Course Staff ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต email : [email protected] ข้อมูลเพิ่มเติม เวลาในการศึกษา : 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที) เวลาในการศึกษาต่อสัปดาห์ : 1 ชั่วโมงการเรียนรู้ (เรียนแบบออนไลน์ 100%) ประเภทของการเรียนในรายวิชา : เรียนด้วยตนเอง กำหนดการสอน : * เนื้อหาทั้งสิ้น 10 บท โดย 1 บทใช้เวลาเรียน 1 ชั่วโมงการเรียนรู้* ใช้เวลาเรียน 5 สัปดาห์ ไม่รวมแนะนำรายวิชาและการทำข้อสอบประมวลความรู้ ค่าธรรมเนียมการเรียน : ไม่มี สื่อการเรียนรู้ : วีดิทัศน์สื่อการเรียนรู้ เอกสารประกอบการสอน กรณีศึกษา และแบบทดสอบที่ใช้ในการเรียนการสอน ภาษาหลักของสื่อการสอน : ภาษาไทย ระดับความยากง่ายของเนื้อหา : ระดับเบื้องต้น ความรู้พื้นฐานที่ต้องมี : - คุณสมบัติผู้เรียน : สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมพื้นฐานทั่วไปสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ รายวิชานี้เหมาะสมกับ : นิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขา / นักเรียน / ประชาชนทั่วไป เกณฑ์การผ่านวิชา และได้ใบประกาศนียบัตร (หากมี): ผู้เรียนได้รับประกาศนียบัตรอิเล็คทรอนิกส์ (ถ้ามี) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมผ่านการวัดผลทั้งหมด และได้ผลการประเมินไม่น้อยกว่า 70% โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ปฏิทินการสอน แนะนำรายวิชา และทำกิจกรรมก่อนการเรียนรู้ บทที่ 1 -เงิน วิวัฒนาการของเงิน และบทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจ บทที่ 2 -บทบาทหน้าที่ของระบบการเงิน ค่าของเงิน มาตรฐานเงินตราและวิวัฒนาการเงินตราในประเทศไทย บทที่ 3 -ตลาดการเงินในประเทศไทย และ ต่างประเทศตลาดการเงินในประเทศไทย และ ต่างประเทศ บทที่ 4 -ระบบธนาคารกลาง ระบบธนาคารพาณิชย์ และ บทบาทของหนี้และเครดิตในระบบเศรษฐกิจ บทที่ 5 -อปุทานและอปุสงค์ ของเงิน ระบบการบริหารเงินทุนของธนาคารพาณิชย์ การสร้างและการทำลาย เงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์ บทที่ 6 -ทฤษฎีระบบสถาบันการเงิน บทที่ 7 -ทฤษฎีอัตราดอกเบีย ผลตอบแทนและมูลค่าของหลักทรัพย์ในตลาด บทที่ 8 -สถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ บทที่ 9 -ตลาดทุนและตลาดหลกัทรัพย์แห่งประเทศไทย บทที่ 10 -ทฤษฎีการเงินและนโยบายการเงิน ช่วงเวลาทำข้อสอบประมวลความรู้ (ออนไลน์) พัฒนาในกรอบความร่วมมือของ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน ผลิตโดย HorizonSoft วิทยาลัย ICT มหาวิทยาลัยรังสิต Created by วิทยาลัย ICT Rangsit University อำนวยการดำเนินงานโดย มหาวิทยารังสิต Directed by Rangsit University รายวิชาและสื่อการสอนของมหาวิทยารังสิตนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons 4.0 (นานาชาติ) ด้วยเงื่อนไข CC-BY-NC-SA This work by Rangsit University is a part of Thai MOOC (thaimooc.org) project and is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Tags
Related Courses
Economics of Money and Banking, Part OneColumbia University via Coursera Economics of Money and Banking, Part Two
Columbia University via Coursera Финансовые рынки и институты (Financial Markets and Institutions)
Higher School of Economics via Coursera Основы корпоративных финансов (Fundamentals of Corporate Finance)
Higher School of Economics via Coursera Islamic Finance and Capital Markets
Islamic Research and Training Institute via edX