ความคิดสร้างสรรค์สำหรับการออกแบบสื่อเสียง | Creative Ideas for Audio Design
Offered By: Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi via ThaiMOOC
Course Description
Overview
"เพียงสื่อเสียงที่สร้างสรรค์โลกโดยนักคิด ก็ปลุกชีวิตให้เกิดหลายล้านความคิดอย่างสร้างสรรค์" ชื่อรายวิชา ความคิดสร้างสรรค์สำหรับการออกแบบสื่อเสียง (Creative Ideas for Audio Design) คำอธิบายรายวิชา พัฒนารายวิชาโดย อาจารย์ปริณุต ไชยนิชย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ แนวคิดพื้นฐานของสื่อเสียงที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดีย การออกแบบสื่อเสียงอย่างมีคุณภาพโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างแนวคิดในการออกแบบสื่อเสียงนอกกรอบสไตล์ตัวเองไม่เลียนแบบใคร การพากย์เสียงบรรยายแบบไม่ต้องเสียงหล่อสวยก็ออกสื่อได้ การจับคาแรคเตอร์ของตนเองมาเป็นจุดขายในงานเสียง การสร้างสรรค์เสียงดนตรีประกอบสื่อลิขสิทธิ์ตนเองแบบที่ไม่ต้องเล่นดนตรีได้ก็ทำได้ การวิเคราะห์งานเสียงของผู้อื่นเพื่อสร้างสรรค์งานเสียงของตนเอง การผสมเสียงระหว่างเสียงบรรยาย เสียงดนตรี และเสียงประกอบ ผสมเสียงอย่างไรให้น่าฟังและถูกหลักการออกแบบสื่อเสียง ข้อมูลเพิ่มเติม เวลาในการศึกษา : 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ เวลาในการศึกษาต่อสัปดาห์ : 2 ชั่วโมงการเรียนรู้ (เรียนแบบออนไลน์ 100%) ประเภทของการเรียนในรายวิชา : เรียนด้วยตนเอง 5 สัปดาห์ กำหนดการสอน : จันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2560 - อาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 2560* เนื้อหาทั้งสิ้น 10 บท โดยใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมงการเรียนรู้ * รวมใช้เวลาศึกษาด้วยตนเองทั้งสิ้น 5 สัปดาห์การทำข้อสอบประมวลความรู้ ค่าธรรมเนียมการเรียน : ไม่มี สื่อการเรียนรู้ : วีดิทัศน์สื่อการเรียนรู้ เอกสารประกอบการสอน (เว็บลิ้งค์) และ แบบทดสอบที่ใช้ในการเรียนการสอน ภาษาหลักของสื่อการสอน : ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเบื้องต้น ระดับความยากง่ายของเนื้อหา : ระดับเบื้องต้น ความรู้พื้นฐานที่ต้องมี : - คุณสมบัติผู้เรียน : ผู้สนใจงานเสียงที่จะนำไปประกอบสื่อมัลติมีเดียและใช้คอมพิวเตอร์ได้ รายวิชานี้เหมาะสมกับ : นิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขา / นักเรียน / ประชาชนทั่วไป วัตถุประสงค์การเรียนรู้ : LO1: จดจำแนวคิดพื้นฐานของการออกแบบสื่อเสียงด้วยความคิดสร้างสรรค์ได้ LO2: เข้าใจขั้นตอนการออกแบบสื่อเสียงด้วยความคิดสร้างสรรค์ได้ LO3: ออกแบบแผนที่ความคิด (Mindmap) เกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์สำหรับการออกแบบสื่อเสียงได้ LO4: ได้แนวทางนการสร้างสื่อเสียงโดยใช้หลักการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ได้ LO5: เปรียบเทียบผลงานการออกแบบสื่อเสียงได้อย่างมีจุดยืนในการตัดสินใจ LO6: ได้แนวทางการพัฒนางานมิกซ์เสียงอย่างสร้างสรรค์ด้วยตัวเองได้ เกณฑ์การผ่านวิชา และได้ใบประกาศนียบัตร (หากมี): ผู้เรียนได้รับประกาศนียบัตรอิเล็คทรอนิกส์ (หากมี) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมผ่านการวัดผลทั้งหมด และได้ผลการประเมินเกิน 70% โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ปฏิทินการสอน อาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2560 แนะนำรายวิชา และทำกิจกรรมก่อนการเรียนรู้ วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2560 อาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2560 บทที่ 1 - ธรรมชาติของเสียงและการได้ยิน บทที่ 2 - หลักการเปลี่ยนทัศนคติผู้ฟังและการสร้างสื่อเสียงแห่งความทรงจำ บทที่ 3 - หลักการออกแบบสื่อเสียงบรรยายและเสียงดนตรี บทที่ 4 - หลักการออกแบบสื่อเสียงประกอบและการสร้าง sound character จันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2560 - อาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2560 บทที่ 5 - การสร้างแผนที่ความคิดและการไตร่ตรองการจินตนาการวาดเสียง บทที่ 6 - หลักการพัฒนาบทและการมิกซ์งานเสียง บทที่ 7 - การมิกซ์เสียงกับธรรมชาติสร้างสรรค์ จันทร์ 29 พฤษภาคม 2560 - อาทิตย์ 4 มิถุนายน 2560 บทที่ 8 - เกียรติและศักดิ์ศรีของนักทำ audio บทที่ 9 - ถ่ายทอดความรู้ที่ได้ด้วยการสอนผู้อื่น บทที่ 10 - การเขียนโมเดลพัฒนาสื่อเสียงอย่างสร้างสรรค์ วันที่ 5-9 มิถุนายน 2560 ช่วงเวลาทำข้อสอบประมวลความรู้ (ออนไลน์) พัฒนาในกรอบความร่วมมือของ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน สอนและผลิตโดย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ Instructed by Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi อำนวยการดำเนินงานโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ Directed by Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi รายวิชาและสื่อการสอนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบCreative Commons 4.0 (นานาชาติ) ด้วยเงื่อนไข CC-BY-NC-SA This work by Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi is a part of Thai MOOC (thaimooc.org) project and is licensed undera Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
Tags
Related Courses
Current Gen 3D Game Prop ProductionMichigan State University via Coursera Video Production for Journalists in the Digital Age
Knight Center for Journalism in the Americas via Acumen Academy Векторная графика. Adobe Illustrator CC
St. Petersburg State Polytechnic University via Coursera Anima Podi 2: À la recherche du pas perdu
Gobelins, l'école de l'image via France Université Numerique Anima Podi : À la recherche du rebond parfait
Gobelins, l'école de l'image via France Université Numerique